ไม่ว่าใครต่างก็คงจะมีท่านอนประจำของตัวเอง ที่นอนเมื่อไหร่ เป็นต้องหลับไปทุกทีแน่ ๆ หลายคนชอบบอกว่า ท่านอนหงาย คือ ท่านอนที่ดีที่สุด เพราะถือว่าเป็นท่านอนพื้นฐานตามธรรมชาติ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ท่านอนตะแคง อาจจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย มากกว่าที่หลายๆ คนคิด ถึงจะพูดว่า ท่านอนตะแคง แต่จริงๆ แล้ว ท่านอนตะแคงเองก็มีท่าพื้นฐานอยู่อีก 3 ท่า ดังนี้ นอนขดตัวเหมือนทารก คือการนอนขดตัว เอาเข่าขึ้นมาชิดกับหน้าอก แล้วกอดเข่าตัวเองไว้ คล้ายกับท่านอนของทารกในครรภ์ . . .
เปิดใจ “เจ๊น้อง” อดีตนักข่าวป่วยโควิด-19 ในเนเธอร์แลนด์ เข้าแอดมิดที่รพ. แล้ว โอดอยากกลับบ้านได้แค่น้ำเกลือ ซัดกลับคนดราม่าใจแคบ “บุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี” พิธีกรรายการ “เคลียร์ให้จบ” ออกอากาศทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.15 น. ทางช่อง New18 วันนี้ (25 เม.ย.) เปิดใจสัมภาษณ์ “คุณวี” เพื่อน “เจ๊น้อง ศิริลักษณ์ ศิริสุนทร” อดีตผู้สื่อข่าวไทย ปัจจุบันอยู่ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งได้ออกมาโพสต์เล่าเรื่องราวการป่วยเป็นโควิด-19 ในต่างแดน ที่ต้องรักษาตัวเองอยู่ที่บ้านตามลำพัง . . .
เมื่อเวลา 07.30 น. (21 เม.ย. 63) ร.ต.อ พิทยา ศรีเรือง รอง สว.(สอบสวน) สภ. พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับแจ้งพบศพเด็กหญิงลอยอยู่ในแม่น้ำป่าสัก บริเวณท่าน้ำหน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือพระนครศรีอยุธยา ไปตรวจสอบที่เกิดเหตุพร้อมด้วยแพทย์เวรโรงพยาบาล พระนครศรีอยุธยา เจ้าหน้าที่มูลนิธิพุทไธสวรรย์ พบเป็นศพเด็กหญิงอายุประมาณ 4-5 ปี ลอยติดอยู่กับผักตบชวา สภาพศพขึ้นอืด ส่งกลิ่น . . .
(25 เม.ย.63) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากชาวบ้านบ้านสี่เหลี่ยม ต.สี่เหลี่ยม อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ ว่าเกิดเหตุสลดชายหนุ่มในหมู่บ้าน ซึ่งไปทำงานรับจ้างอยู่ที่ จ.ปทุมธานี ได้ถ่ายทอดสดผ่านเฟซบุ๊กตอนที่ตัวเองกำลังจะผูกคอตายภายในห้องพัก เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. คืนวันที่ 24 เม.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งญาติพี่น้อง และเพื่อนๆ ที่เห็นไลฟ์ต่างพยายามโทรศัพท์และส่งข้อความผ่านเฟซบุ๊กเข้าไปปลอบใจ แต่ก็ไม่เป็นผล ชายหนุ่มคนดังกล่าวตัดสินใจใช้เชือกผูกคอตัวเองเสียชีวิตต่อหน้าต่อต่อตาญาติและเพื่อนๆ จากนั้นผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปยังบ้านสี่เหลี่ยม ต.สี่เหลี่ยม อ.ประโคนชัย . . .
เมื่อวันที่ 20 เม.ย. ที่ผ่านมา ศ.นพ.สมนึก สังฆานุภาพ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว Somnuek Sungkanuparph ว่า เราเสียผู้ป่วยรายที่ 2 ไปวันนี้ “เวลาเกิน 5 สัปดาห์ที่เราได้ต่อสู้กับ COVID-19 มา และมีผู้ป่วยมากกว่า 150 ราย แม้ว่าเราจะรักษาผู้ป่วยจนหายดีกลับบ้านไปได้ประมาณครึ่งหนึ่ง และรักษาผู้ป่วยอาการดีขึ้นจนสามารถย้ายไปพักฟื้นต่อที่โรงพยาบาลสนามที่ดัดแปลงมาจากโรงแรมได้อีก 1 ใน 3 ที่เหลือยังคงต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล . . .
ไข้เลือดออก บางคนเดินเข้าโรงพยาบาลไปนอนรักษาง่ายๆ ไม่กี่วันก็กลับบ้าน แต่บางคนสามารถมีอาการหนักจนถึงขั้นเข้าห้องไอซียู ให้เลือด ให้น้ำเกลือ หากร่างกายอ่อนแอจนไม่สามารถต้านทานไหว หรือเข้าสู่ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ก็อาจเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วันได้เช่นกัน (อ่านเรื่อง ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดคืออะไร ที่นี่) ปัจจุบันไข้เลือดออกกำลังเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของประเทศไทย เพราะแต่ละปีมีผู้ป่วยจากทุกภาคเป็นจำนวนมากส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และโรคนี้มักระบาดมากในฤดูฝนเพราะมียุงลายชุกชุม ไข้เลือดออก คือ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกีซึ่งเป็นไวรัสชนิดหนึ่ง มียุงลายเป็นพาหะนำโรค กล่าวคือ ยุงลายจะกัดคนที่เป็นโรคไข้เลือดออกก่อนแล้วจึงไปกัดคนที่อยู่ใกล้เคียงก็จะเป็นการแพร่เชื้อให้คนอื่นๆ ต่อไป การติดต่อของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก มักติดต่อจากคนไปสู่คน ซึ่งมียุงลายเป็นตัวพาหะที่สำคัญ . . .
โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน “ซึมเศร้า” ทางการแพทย์ หรือ Clinical depression หมายถึง ภาวะซึมเศร้าที่มีมากกว่าอารมณ์เศร้า และเป็นพยาธิสภาพแบบหนึ่งที่พบได้ในหลายๆ . . .
CNN มีรายงานว่าความกังวลในเรื่องโคโรนาไวรัส การเว้นระยะห่างทางสังคม การปิดสถานออกกำลังกาย และการกักบริเวณตัวเองอยู่ในบ้าน อาจทำให้ผู้คนอยากเอาแต่นอนขดตัวอยู่บนโซฟาและดูโทรทัศน์ หรือนอนอ่านหนังสือนิยายทั้งวัน แต่การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่ม (ซึ่งอาจทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง) ช่วยให้อารมณ์ดี และช่วยให้มีสุขภาพดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดอยู่ทั่วโลกในขณะนี้ อย่างไรก็ดี ช่วงเวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยการเพิ่มการออกกำลังกายเข้าไปในตารางเวลาชีวิตประจำวัน ในแต่ละวันควรตั้งเป้าหมายการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ หรือการออกกำลังกายเพื่อประสิทธิภาพร่างกายและหัวใจอย่างน้อย 30 นาทีรวมถึงการฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ และสร้างมวลกระดูกอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะถ้าหากเป็นโรคเบาหวานหรือมีอาการเริ่มต้นของการเป็นโรคเบาหวาน เพราะร่างกายของคนส่วนใหญ่อาจเผาผลาญแคลอรี่น้อยกว่าปกติ เนื่องจากกิจวัตรประจำวันที่ทำได้มีอยู่เพียงจำกัด การพยายามไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ . . .
เมื่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) มักตรงเข้ามาทำร้ายปอด จนทำให้เกิดอาการปอดอักเสบ ทำให้เรามีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เราจึงควรใส่ใจกับการดูแลสุขภาพของปอดให้มากขึ้น ทำไมโควิด-19 ทำให้ปอดอักเสบ หายใจเหนื่อยหอบ? อ.พญ.ฑิมภ์พร วิทูรพงศ์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า การติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ปอดอักเสบ และมีเสมหะอุดกั้นถุงลมปอด ส่งผลให้การแลกเปลี่ยนออกซิเจนลดลง เกิดอาการเหนื่อยหอบ ไปจนถึงภาวะหายใจล้มเหลว ฝึกหายใจ ฟื้นฟูปอด สู้โควิด-19 สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจไม่รุนแรง สามารถฝึกการหายใจได้ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟ่บ และฟื้นฟูสมรรถภาพปอด . . .
โรคเดียวที่พูดถึงกันไปทั่วโลกในขณะนี้ หนีไม่พ้นเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากเชื้อ SARS Coronavirus -2 มาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยหนึ่งในอาการ หากติดเชื้อโควิด-19 คือ เหนื่อยหอบแน่นหน้าอก ซึ่งใกล้เคียงกับอาการของโรคหัวใจบางประเภท เรามาดูวิธีสังเกตอาการว่าจะแยกออกจากโรคหัวใจได้อย่างไร “เหนื่อยหอบ-แน่นหน้าอก” อาการ “โควิด-19” หรือ “โรคหัวใจ” นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ทำความเข้าใจก่อนว่าอาการของการติดเชื้อโควิด-19 . . .